แผ่นอะคริลิค

แผ่นอะคริลิค เป็นสิ่งที่หลายคนรู้จัก แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่รู้จักว่า แผ่นอะคริลิคคืออะไร แล้วใช้ทำอะไรได้บ้าง แล้วแผ่นอะคริลิคทำมาจากอะไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว

ทำความรู้จักอะคริลิคกันก่อน

อะคริลิค เป็นพลาสติกที่มีความทนทานสูง แถมยังเป็นส่วนที่นิยมนำมาใช้งานได้หลากหลาย ทั้งนี้อะคริลิคก็มีหลายชื่อเรียกด้วยกัน แต่ชื่อที่คุ้นหูคนไทยมากที่สุดคือ อะคริลิคพลาสติก กระจกอะคริลิค หรือแผ่นอะคริลิคเป็นต้น

โดยต้นกำเนิดของแผ่นอะคริลิคเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 โดยนักเคมีชาวเยอรมัน ชื่อ ฟิททิจและพอจ ทั้งคู่ได้ทำการทดลองโดยการนำเอาโมโนเมอร์ของเมทิลเมทาไครเลต มาทำปฏิกิริยาการเกิดโพลิเมอร์ จนได้เป็นโพลิเทิลเมทาไครเลต แต่ยังไม่สามารถพัฒนามาเป็นแผ่นอะคริลิคพลาสติกได้ จนเมื่อปีค.ศ.1933 ออทโท เริห์ม ได้ค้นพบการพัฒนาขึ้นมาเป็นแผ่นอะคริลิค จึงได้มีการขอจดสิทธิบัตรวิธีผลิตแผ่นพลาสติกใสในชื่อทางการค้าว่า Plexiglas

ซึ่งในปัจจุบันวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้คิดค้นวิธีการผลิตแผ่นอะคริลิคพลาสติกได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือ 2 วิธีนี้

  • การผลิตด้วยกระบวนการหล่อแบบต่อเนื่อง
  • การผลิตด้วยกระบวนการหล่อแบบไม่ต่อเนื่อง

โดยกระบวนการผลิตอะคริลิคพลาสติกทั้ง 2 วิธีนี้ จะมีต่างกัน คือ การหล่อแบบต่อเนื่องจะทำขึ้นโดยการลำเลียงของสายพานสองเส้นที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แต่การหล่อแบบไม่ต่อเนื่อง ก็จะทำขึ้นในเบ้าหล่อหรือแม่พิมพ์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความแตกต่างกัน

ทั้งนี้คุณสมบัติของอะคริลิคอย่างที่บอกไปตอนต้นว่ามีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ส่วนใหญ่อะคริลิคจะมีความหนาตั้งแต่ 2 – 100 มิลลิเมตร ทำให้มีความแข็งแรงกว่าพลาสติกประเภทอื่น แต่ก็มีความทนทานต่ำกว่าโพลิคาร์บอเนตและพลาสติกวิศวกรรมชนิดอื่นได้ ทั้งนี้แผ่นอะคริลิคมีเนื้ออ่อน เวลาโดนอะไรขูด หรือ ขีด ก็จะเป็นรอยได้ง่าย

แผ่นอะคริลิคนำมาใช้งานด้านไหนบ้าง?

  • เครื่องประดับ
  • ป้ายโฆษณา
  • กระจก
  • ตู้ปลา
  • กรอบรูป
  • กรอบงานต่างๆ
  • เฟอร์นิเจอร์
  • ชั้นวางของ
  • ของตกแต่งภายในบ้าน
  • และอื่นๆ

ทั้งนี้แผ่นอะคริลิคเนื่องจากเป็นพลาสิกชนิดหนึ่ง ขึ้นชื่อเรื่องความทนทาน แต่ก็เป็นพลาสิกที่ย่อยสลายยาก ดังนั้นใครที่มีอะคริลิค หรือกำลังจะซื้อแผ่นอะคริลิคไปใช้งาน แนะนำให้ใช้งานอย่างคุ้มค่าจริงๆ เพื่อเป็นการลดขยะบนโลก ลดการเกิดภาวะโลกร้อน เพื่อให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นนั่นเอง